Loading...

หลักสูตรพัฒนาผู้บริหาร Mini MBA: นวัตกรรมความยั่งยืนในการจัดการความปลอดภัย สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน

Organization Executives Mini MBA: Innovative Sustainability in Safety, Health, Environment & Energy Management (SHE & En)

สถานที่จัดอบรม : โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค (กรุงเทพฯ)
วันที่อบรม : ระหว่างวันที่ 13 มกราคม 2562 - 30 มีนาคม 2562

          ปัจจุบันภาวะที่โลกมีการเปลี่ยนเเปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติ ในฐานะผู้นำองค์กรจึงจำเป็นต้องมีสมรรถนะการบูรณาการองค์ความรู้ในการบริหารธุรกิจให้เข้ากับประเด็นการให้ความสำคัญกับสุขภาพ ความปลอดภัย สิ่งเเวดล้อม และพลังงาน (SAFETY, HEALTH, ENVERONMENT & ENERGY) หรือ SHE & En ผู้บริหารองค์กรควรมีวิสัยทัศน์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้บรรลุเป้าหมาย ก้าวทันต่อการเปลี่ยนเเปลงรอบด้านและพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพื่อให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศ ภูมิภาค และทั่วโลก และเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม สุขภาพอนามัย สิ่งเเวดล้อมและพลังงานให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
          คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) จึงได้ร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรนี้ เพื่อให้ผู้บริหารได้เข้าใจในมุมมองด้าน SHE & En และผู้รับผิดชอบด้าน SHE & En ได้เข้าใจมุมมองการบริหารทางธุรกิจ

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรมีการใช้โปรแกรม capsim เกมส์จำลองทางธุรกิจจากต่างประเทศ ที่สามารถวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจได้ โดยใส่ปัจจัยเสี่ยงทางด้าน SHE & En ลงไป ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นได้สัมผัสจริง มีการพูดคุยแลกเปลี่ยน และทำงานร่วมกัน เหมือนกับการนั่งทำงานจริงในองค์กร แต่เดิมใช้สำหรับปัจจัยเสี่ยงทางธุรกิจเท่านั้น เช่น หากเกิดน้ำท่วม พายุเข้า สารเคมีรั่วไหล จะเกิดผลกระทบเชิงธุรกิจอย่างไรบ้าง

"หากเป็นการเทรนนิ่งหรืออบรมพนักงานในรูปแบบเดิมๆ จะเน้นการให้ความรู้ด้านทฤษฎี ขั้นตอนกระบวนการต่างๆ
แต่สำหรับการใช้ การจำลองสถานการณ์ทางธุรกิจ หรือ Business Simulation จะช่วยให้ได้ทั้งความรู้
ประสบการณ์ตรงที่ได้จากการลงมือทำเอง เล่นเอง และตัดสินใจเอง ซึ่งหากตัดสินใจผิดก็จะรู้ถึงปัญหา
และสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา
ดังนั้นหากในอนาคตเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง
ก็จะสามารถคาดเดาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
ทำให้สามารถวางแผนรองรับ
หรือเตรียมแผนแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้าแล้ว"

ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ

1. ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ตลอดจนสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้นำองค์กรในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
2. ผู้ผ่านการอบรมพร้อมเป็นผู้บริหารองค์กรแห่งนวัตกรรมความยั่งยืน
3. ผู้ผ่านการอบรมเป็น “นักคิด” ที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น
4. ผู้ผ่านการอบรมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าทันจากผลกระทบ
5. ผู้ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการบูรณาการการทำงานได้ในอนาคต
6. ผู้ผ่านการอบรมมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาองค์กร
7. มีเครือข่ายในการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันต่อไปในอนาคต

คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้าอบรม

• ผู้บริหารทุกระดับ จากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
• จำนวน 50 คน

ค่าลงทะเบียน

ค่าลงทะเบียนจากงบประมาณของหน่วยงาน คนละ 75,000 บาท
พิเศษ!!! สำหรับผู้ลงทะเบียนเข้าอบรมเป็นรุ่นเเรก ได้รับสิทธิ์ลดค่าลงทะเบียนจาก 75,000 บาท เหลือเพียง 50,000 บาท 
รับสมัครลงทะเบียนภายในวันที่ 10 ม.ค. 2562 นี้เท่านั้น 

**หมายเหตุ
ค่าใช้จ่ายในการอบรม บริษัท/หน่วยงาน สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 200%

เเนะนำวิทยากร

     

     

     

                       

การรับสมัครเข้าร่วมอบรม

**ขยายเวลาการเปิดรับสมัครเข้าร่วมอบรม  ตั้งเเต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 10 มกราคม 2562 
ดาวนโหลด กำหนดการสำหรับผู้เข้าอบรม คลิก
ดาวน์โหลด ข้อมูลหลักสูตร 
คลิก  
ดาวน์โหลด แผ่นพับประชาสัมพันธ์ 
คลิก
ดาวน์โหลด แบบฟอร์มการรับสมัคร  คลิก
หรือ สมัครออนไลน์
คลิก

 

ติดต่อสอบถาม

งานวิจัย บริการวิชาการและห้องปฎิบัติการ
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณพิศมัย มากเเพทย์
โทร.   : 063-415-3532, 02-564-4440-79 ต่อ 7425
Email : PISAMAI28@GMAIL.COM

คุณอุษา ป้องจิตใส
โทร.   : 080-454-6498
Email : USA.P@FPH.TU.AC.TH

ค่าใช้จ่ายในการอบรม สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 200%

อ่านรายละเอียด คลิก>>

พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 กำหนดให้บริษัทสามารถนำค่าใช้จ่ายในการพัฒนาฝีมือแรงงานไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน คือ การฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้กับลูกจ้างตามกฎหมาย มีการจ่าย ค่าจ้าง มีการทำสัญญาจ้างแล้ว (แม้จะเข้ามาในวันแรก หรือเป็นช่วงทดลองงานก็ตาม) 
ซึ่งการฝึกอบรมยกระดับฝีมือแรงงานมี 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีบริษัทจัดฝึกอบรมขึ้นเองหรือจ้างจัดบริษัทฝึกอบรมสัมมนามาจัดฝึกอบรมให้ (In-house Training)
2. กรณีส่งบุคลากรไปรับการฝึกกับบริษัทฝึกอบรมสัมมนา สถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (Public Training)

หลักเกณฑ์ในการพิจารณารับรองหลักสูตร
1. มีเนื้อหาหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นตามสาขาอาชีพ
2. มีเนื้อหาสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการ
3. ระยะการฝึกอบรมสัมมนาสอดคล้องกับหลักสูตรและไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
4. เรื่องจำนวนชั่วโมง และจำนวนผู้เข้ารับการฝึกจำนวนชั่วโมงที่ฝึกอบรม
5. ผู้เข้าอบรมสัมมนาแต่ละรุ่นต้องไม่เกิน 50 คน

IN HOUSE TRAINING
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอรับรองหลักสูตร (ตามคู่มือสิทธิประโยชน์การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน) กรณีสถานประกอบการ/บริษัท เป็นผู้ดำเนินการฝึกเองหรือจ้างจัดบริษัทฝึกอบรมสัมมนามาจัดฝึกอบรมให้ (IN-HOUSE TRAINING) มีข้อสรุปดังนี้
     1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ ฝย / ฝป 1)
     2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเองหรือจัดจ้างบริษัทฝึกอบรมสัมมนามาดำเนินการให้ (แบบ ฝย / ฝป 2 - 1)
     3. ใบลงทะเบียนผู้รับการฝึกอบรม (แบบ ฝย / ฝป 3)
     4. ข้อมูลหลักสูตร
     5. ตารางการฝึกอบรมสัมมนา
     6. เรื่องอนุมัติให้จัดฝึกอบรมสัมมนา
     7. ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดหลักสูตร

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่นำมายื่นประกอบ มีดังนี้
     1. เงินค่าตอบแทนวิทยากร-บริษัทที่เข้ามาดำเนินการ เท่าที่จ่ายจริง หรือตอบแทนเป็นของขวัญสำหรับวิทยากรมูลค่าไม่เกิน 5,000 บาท/คน/รุ่น อย่างใดอย่างหนึ่ง
     2. ค่าลิขสิทธิ์ของหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม
     3. ค่าจ้างล่ามระหว่างการฝึกอบรม
     4. ค่าแปลเอกสารประกอบการฝึกอบรม หรือตำรา
     5. ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม หรือตำรา เป็นค่าจ้างจัดทำหรือซื้อมาเป็นเล่ม 
     6. ค่าจ้างถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม
     7. ค่าถ่าย ล้าง อัดและขยายรูปภาพ ค่าบันทึกภาพและเสียงที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม
     8. ค่าจัดทำหรือค่าเช่าสื่อในการฝึกอบรม เช่น เทปเสียง เทปวิดีโอ ซีดี วีซีดี ดีวีดี สไลด์ แผ่นภาพ และรวมถึงชุดทดลอง ชุดสาธิตที่ไม่เข้าข่ายการลงทุน (การเช่าต้องมีระยะเวลาที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม)
     9. ค่าวัสดุ เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ต้องไม่ปะปนกับที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของผู้ขอรับความเห็นชอบ โดยจะต้องระบุรายการ จำนวนและราคาของวัสดุ เครื่องมือนั้นให้ชัดเจน
     10. ค่าเช่าเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมต้องมีระยะเวลาเช่าที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม
     11. ค่าเช่าสถานที่จัดฝึกอบรม
     12. ค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่างสำหรับผู้รับการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรม และวิทยากรระหว่างฝึกอบรม ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
     13. ค่าพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 2 เที่ยว ยกเว้นค่าเครื่องบิน
     14. ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ-ส่งผู้รับการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรมและวิทยากรระหว่างการฝึกอบรม ไป-กลับในประเทศไม่เกินสองเที่ยว ยกเว้นค่าแท็กซี่และค่าเครื่องบิน
     15. ค่าจ้างเหมาพาหนะไปดูงานที่กำหนดไว้ในหลักสูตรภายในประเทศ ยกเว้นค่าแท็กซี่และ ค่าเครื่องบิน
     16. ค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศของวิทยากร

**หมายเหตุ
      • กรณีหลักฐานค่าใช้จ่าย (ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน) ที่ออกโดยร้านค้าหรือนิติบุคคล ได้แก่ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่มีรายการถูกต้องสมบูรณ์ พร้อมระบุชื่อหลักสูตร / รุ่น / วันที่อบรม / จำนวนเงินให้ชัดเจน (กรณีใบเสร็จรับเงินของโรงแรมให้แนบใบแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายของค่าที่พักและอาหาร)
     • กรณีใบสำคัญรับเงินที่ให้บุคคลเป็นผู้รับเงินในการจ้างทำของหรือเป็นค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจ้างทำอาหาร ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ–ส่ง เป็นต้น พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน
     • ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงินสามารถใช้สำเนาได้ ให้เซ็นสำเนาถูกต้องทุกใบ
     • ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงินขอให้แยกขาดกันในแต่ละหลักสูตร แต่ละรุ่นที่ฝึก
     • กรณีที่รวมใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงินกันมามากกว่าหนึ่งหลักสูตรหรือหนึ่งรุ่น ก็ให้ถ่ายสำเนาใบเสร็จนั้นตามจำนวนหลักสูตรหรือรุ่นที่รวมกันมา ให้เขียนหมายเหตุแบ่งแยกแต่ละหลักสูตร แต่ละรุ่นให้ชัดเจนว่าแต่ละหลักสูตร แต่ละรุ่นมีค่าใช้จ่ายหลักสูตรละรุ่นละเท่าไร พร้อมเซ็นชื่อขอรับรองว่าเป็นความจริงด้วย (สามารถทำได้แต่ไม่แนะนำให้ทำ เพราะจะมีปัญหาเวลาพิจารณา)
     • บิลเงินสดที่ออกกันเองไม่สามารถใช้ได้
     • ค่าใช้จ่าย 16 ข้อข้างต้น ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีจำนวนเหมาะสมและจำเป็นกับการฝึกอบรม


PUBLIC TRAINING 
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอรับรองหลักสูตร (ตามคู่มือสิทธิประโยชน์การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน) กรณีส่งบุคลากรไปรับการฝึกกับบริษัทฝึกอบรมสัมมนา สถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (PUBLIC TRAINING) มีข้อสรุปดังนี้
     1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ ฝย / ฝป 1)
     2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม (แบบ ฝย / ฝป 2-2)
     3. เอกสารประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรม
     4. เอกสารกำหนดการอบรมหลักสูตร
     5. เอกสารการอนุมัติให้บุคลากรเข้ารับการอบรม
     6. ใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียน
     7. วุฒิบัตร, ประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรม

เงื่อนไขของสถานประกอบการ-สถาบันที่จัดฝึกอบรม (Public Training)
- เป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียน เอกชน สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
- สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานของทางราชการ
- สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่มีฐานะเป็นมูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่นำมายื่นประกอบ มีดังนี้
     • ค่าธรรมเนียมเข้าอบรมหรือค่าลงทะเบียน
     • ค่าพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสองเที่ยวยกเว้นค่าเครื่องบิน
     • ค่าเช่าที่พักเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ในกรณีสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานไม่ได้จัดสถานที่พักให้

**หมายเหตุ
รายละเอียดเกี่ยวกับเอกสาร รวมทั้งความถูกต้องของเอกสารเรื่องกรอบค่าใช้จ่ายการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานภายนอก เหมือนกรณีฝึกอบรมภายใน