Loading...

สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต


       

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย

สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาสาธารณสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ภาษาอังกฤษ

Doctor of Public Health Programs in Public Health and
Sustainable Development

  

จุดเด่นของหลักสูตร   
     • เป็นหลักสูตรใหม่ที่บูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานด้านสาธารณสุขที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงแนวคิดไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย

     • เน้นการนำความรู้จากในชั้นเรียนไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริงของผู้เรียน มีการศึกษาวิจัยในเชิงลึกและเชิงกว้างเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือต่อยอดองค์ความรู้เดิม เพื่อให้เกิดเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์
     • พัฒนาศาสตร์ทางด้านสาธารณสุขแบบดั้งเดิมให้มีความเป็นสาธารณสุขสมัยใหม่ โดยบูรณาการความรู้ศาสตร์ทางด้านสาธารณสุขที่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
     • เน้นพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้นำทางด้านสาธารณสุข โดยเน้นการส่งเสริม ป้องกัน การเกิดโรคและภัยสุขภาพ
     • ส่งเสริมภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) กล้าแสดงความคิดเห็น และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นหาข้อมูล และเรียนรู้นอกชั้นเรียน
     • เป็นหลักสูตรที่ให้ผู้เรียนได้นำปัญหาทางด้านสาธารณสุขสถานการณ์จริง มาใช้ในการเรียน โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา แนะนำ และร่วมดำเนินการอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมทันที และนำไปใช้ต่อยอดในการวิจัยได้
     • ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนการเรียนทางไกล เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้เรียนในการเดินทาง
     • เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนได้ทำหน้าที่ coaching ให้กับนักศึกษาในการศึกษาหาความรู้

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
     แผนการศึกษาแบบ 1.1 (สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท)
     1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโททางด้านสาธารณสุขหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ จากสถาบันการศึกษาทั้งในหรือต่างประเทศที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
     2) มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ปี
     3) กรณีที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อ 2) ให้นำเสนอผลงานทางวิชาการ เช่น ผลงานตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติ เอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการ (Proceedings) หนังสือ ตำรา หรือคู่มือต่างๆ ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเพื่อพิจารณาได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษา

     แผนการศึกษาแบบ 2.2 (สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี)
     1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางด้านสาธารณสุขหรือสุขภาพ หรือสาขาอื่นจากสถาบันการศึกษาทั้งในหรือต่างประเทศที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
     2) มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปี
     3) สำหรับผู้เข้าศึกษาที่กำลังศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (แผนการศึกษาแบบ ก2) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
          3.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางด้านสาธารณสุข ศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิตที่สาขาเกี่ยวข้องกับทางด้านสุขภาพ จากสถาบันการศึกษาทั้งในหรือต่างประเทศที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
          3.2 มีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสาธารณสุขหรือสุขภาพอย่างน้อย 2 ปี
          3.3 กำลังศึกษาในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ลงทะเบียนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 21 หน่วยกิตและมีผลการศึกษารายวิชาบังคับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 โดยไม่ผ่านการจดทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์มาก่อน หากมีการจดทะเบียนรายวิชาดังกล่าวมาแล้วจะไม่สามารถโอนหน่วยกิตได้

การคัดเลือกเข้าศึกษา
     1) พิจารณาจากประสบการณ์การทำงาน (แฟ้มสะสมผลงาน), เอกสารแนวคิดการวิจัย (concept paper) และการสอบสัมภาษณ์
     2) ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS โดยผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร
     3) เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะสาธารณสุขศาสตร์

จำนวนรับ
     แผนการศึกษาแบบ 1.1         จำนวน            3        คน  

     แผนการศึกษาแบบ 2.2          จำนวน            2        คน  

โครงสร้างหลักสูตร

    แผนแบบ 1.1 (ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)48หน่วยกิต
1)  หมวดวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิตรวม)9หน่วยกิต
2)  วิทยานิพนธ์48หน่วยกิต
 

สำหรับผู้ที่ไม่ได้จบทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพต้องลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติมใน หมวดวิชาบังคับสาธารณสุข (ไม่นับหน่วยกิตรวม) 4 หน่วยกิต

    
    แผนแบบ 2.2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)72หน่วยกิต
1)  หมวดวิชาบังคับ21หน่วยกิต
2)  หมวดวิชาเลือก3หน่วยกิต
3)  วิทยานิพนธ์48หน่วยกิต
 

สำหรับผู้ที่ไม่ได้จบทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพต้องลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติมใน หมวดวิชาบังคับสาธารณสุข (ไม่นับหน่วยกิตรวม) 4 หน่วยกิต

 

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
     1) นักวิชาการสาธารณสุข
     2) ผู้บริหารงานท้องถิ่น ผู้บริหารงานด้านสาธารณสุข ในภาครัฐและเอกชน 
     3) อาจารย์ในสถาบันการศึกษา 
     4) นักวิจัย/ที่ปรึกษาด้านการจัดการสุขภาพความยั่งยืน
     5) องค์กรไม่แสวงหากำไร (NGO)

วัน – เวลา ในการจัดการเรียนการสอน คือ นอกวัน – เวลาราชการ
     เรียนวันวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. ถึง 18.00 น.

     ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – ธันวาคม 
     ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – พฤษภาคม
     ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
     แบบ 1.1 ประมาณ 255,000 บาท/ตลอดหลักสูตร
     แบบ 2.2 ประมาณ 380,000 บาท/ตลอดหลักสูตร


หลักฐานการสมัคร
1.  ใบสมัคร พร้อมกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนสมบูรณ์
         - ดาวน์โหลด ใบสมัคร 
         - หรือ สมัครออนไลน์ คลิก 

2.  สำเนาใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) ที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา จำนวน 1 ฉบับ
3.  สำเนาใบปริญญาบัตร (ปริญญาตรี) จำนวน 1 ฉบับ
4.  หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน จำนวน 1 ฉบับ
5.  ใบคะแนนผลสอบ TU-GET หรือ IELTS หรือ TOEFL หรือเอกสารแสดงการสมัครทดสอบภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ฉบับ 
       ผลการทดสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร
6.  สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
7.  สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ จำนวน 1 ฉบับ
8.  สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล, ยศ (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ
9.  หัวข้อที่สนใจในการทำวิจัย (Area of interest) ในปัญหาทางสาธารณสุข จำนวน 1 ฉบับ
       ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ขนาดตัวอักษร 16 point (ตามแบบฟอร์มแนบท้าย) 
       ดาวน์โหลด หัวข้อที่สนใจในการทำวิจัย (Area of interest)
10. หลักฐานการชำระเงินค่าสมัคร จำนวน 1 ฉบับ 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม   ข้อมูลรายละเอียด-Dr.PH._หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564.pdf

 

ข้อมูลติดต่อ
งานจัดการเรียนการสอนศูนย์ลำปาง
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
เลขที่ 248 ต.ปงยางคก ถ.ลำปาง-เชียงใหม่ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง 52190 
โทร.  05 423 7999 ต่อ 5601 - 2